Review Date 01/09/2013 By www.108engineering.com
เมื่อกล่าวถึงการผลิตชิ้นส่วนที่เป็นโลหะต่าง ๆ ในรถยนต์ หรือ อะไหล่ยนต์ นั้น ในกระบวนการผลิตในจำนวนเยอะ ๆ ชิ้นส่วนต่าง ๆ นิยมขึ้นรูป ด้วยกระบวนการ หล่อขึ้นรูป ให้มีรูปร่างหรือโครงสร้าง การรับแรง ต่าง ๆ ให้ใกล้เคียงตามความต้องการ หลังจากนั้น จึงผ่านกระบวนการ กลึง กัด ตัด เจาะ เจียรนัย อีกครั้ง เพื่อให้ได้ระยะ หรือขนาด ที่ควบคุมตามความต้องการ เพราะการขึ้นรูปแบบ หล่อขึ้นรูปนั้น ไม่สามารถควบคุมระยะ หรือ ขนาดของชิ้นงานที่มีความเที่ยงตรง สูงได้ ดังนั้นหลังจากกระบวนการหล่อขึ้นรูปแล้ว ก็จะนำชิ้นงานผ่านกระบวนการ กัด เจาะ เจียรนัย (Machining) อีกครั้งเพื่อควบคุมค่าในบางจุด เช่น คู่ขนาน ความเรียบผิว การร่วมศูนย์ หรือ ควบคุมระยะสวมอัด ต่าง ๆ รวมไปถึงการ ต๊าปเกลี่ยว
ในกระบวนการ Machining นั้น ด้วยส่วนใหญ่ ก็จะใช้เทคโนโลยี่ CNC เข้ามาช่วยในการผลิต เพราะ สามารถโปรแกรมการ กระบวนการต่าง ๆ ในการทำงานขั้นตอน Machining ได้ง่าย และ สามารถเปลี่ยน โมเดล ของงานที่ มีความหลากหลาย ของกระบวนการผลิตได้เป็นอย่างดี จึงเป็นที่นิยมในการผลิตแบบจำนวนเยอะ ๆ ซึ่ง CNC ก็จะมีตั้งแต่ มิลลิ่ง เจียร กลึง เจาะ ต๊าป และมีการเปลี่ยน Tool แบบอัตโนมัติ แต่ด้วย CNC นั้นออกแบบมาให้สามารถใช้งานโดยทั่วไป และที่สำคัญ มีหัวเจาะ สำหรับการทำงานได้ ครั้งละฟังก์ชั่นเดียว ไม่สามารถที่จะทำพร้อม ๆ กันหลาย ๆ ฟังก์ชั่นได้ เช่น ในขณะที่เจาะ รูที่ 1 ก็ไม่สามารถเจาะ รูที่ 2 ไปพร้อมกันได้ จึงเสียเวลาในการ เปลี่ยนตำแหน่งชิ้นงาน และ เปลี่ยน Tool ดังนั้นบางกระบวนการ ที่มีการผลิตแบบเยอะ ๆ จึงนิยมสร้างเครื่องจักรขึ้นมาเฉพาะ สำหรับงานนั้น ๆ (Spacial Machine) ขึ้นมา เพื่อให้การทำงานได้เร็วขึ้น ลดต้นทุนการผลิต
เมื่อพูดถึงกระบวนการเจาะรู มีพารามิเตอร์ ที่ต้องคำนึงถึง 2 ตัวหลัก ๆ ก็คือ ความเร็วของดอกเจาะ และ อัตราป้อน (Feed Rate) ซึ่งถ้าเราใช้ CNC ในการเจาะ CNC จะควบคุม มอเตอร์ ทั้งแกน X Y Z ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ อยู่แล้วดังนั้น ก็จะสามารถตั้งความเร็วรอบของดอกเจาะ และ อัตราป้อน ด้วยโปรแกรมได้ โดยไม่ยาก แต่ถ้าเราจะสร้างระบบในการเจาะขึ้นมาเอง เพื่อสร้างเป็นเครื่องจักรเฉพาะทาง สิ่งที่เราต้องคำนึงถึง ก็คือ พารามิเตอร์ 2 ตัวจากข้างต้น เพราะจะทำให้มีผลต่อการเจาะ ผิวในการเจาะ และความเร็วในการเจาะ ยิ่งเป็นงาน ต๊าปเกลียวด้วยแล้ว ความเร็วในการเคลื่อนที่ของดอกต๊าป ต้องสัมพันธ์กับความเร็วของรอบการหมุนของดอกต๊าป เพื่อให้ได้เกลี่ยวและ ดอกต๊าปไม่หัก ดังนั้น ในด้าน CNC ก็จะนำการทำ Motion Control เข้ามาช่วยควบคุม สร้างความสัมพันธ์ ในการเจาะ และ ต๊าป
แต่ในวันนี้ ผมจะแนะนำให้รู้จัก กับหัวเจาะ และ ต๊าป ที่สามารถทำงานได้เช่นเดียวกันกับ CNC แต่เป็นการแก้ปัญหาด้วยการใช้ระบบ Machanism เข้ามาเป็นตัวช่วย มาทำความรู้จักกับเจ้า หัวเจาะ ของ Sukino กันครับ เจ้าหัวเจาะ ของ Sukino ตัว Selfeeder ได้ออกแบบให้เหมาะสม ขนาดกระทัดรัด เหมาะกับการนำไปสร้างเครื่องจักร แบบ เฉพาะด้าน โดยมี การควบคุมการหมุนของความเร็วรอบ โดยแบ่งเป็น 2 รุ่นหลัก ๆ คือ Induction Motor เราสามารถควบคุมได้โดย Inverter และ Servo Motor ก็สามารถควบคุมได้ผ่าน Controller หรือ PLC ก็ได้ อีกตัวคือการ เคลื่อนที่ของ Tool ในแกน Z จะใช้ระบบ นิวแมติกส์ หรือ ระบบลมเข้ามาช่วยในการเคลื่อนที่ ขึ้นลง และควบคุมระยะ ด้วยการตั้ง Stopper เพื่อ ควบคุมขนาดความลึกของรูเจาะ ส่วนอัตราป้อน จะให้ อุปกรณ์ ที่เรียกว่า Hydro Speed Regulator โดยหลักการทำงานจะคล้าย ๆ กับ โช๊คอัป เมื่อกระบอกเคลื่อนที่ลงมาก่อนระยะ ป้อน ก็จะเคลื่อนที่ด้วยควาเร็วสูงได้ แต่เมื่อถึงระยะ ป้อน สำหรับเจาะ เจ้าตัว Hydro Speed Regulator จะเป็นตัวควบคุมความเร็วในการเคลื่อนที่ลงมา ได้อย่างสม่ำเสมอ ตลอดช่วงการใช้งาน โดยสามารถเลือกได้ตามความต้องการ ทั้งนี้ ระบบจะมีตัวแปรก็คือ แรงที่กดลงมาของกระบอกลม ซึ่งเราสามารถปรับแรงดันลมได้อยู่แล้วที่เหลือ ก็สามารถปรับ ระยะ ได้ที่ Stopper และปรับอัตราการป้อน ได้โดยเจ้าตัว Hydro Speed Regulator นั่นเอง ซึ่งในการเลือกแต่ละรุ่นก็จะต้องรู้ ขนาดของดอกเจาะ ระยะความลึก และอัตราป้อน ส่วนการต๊าปเกลียว ถ้าเราทำโดย CNC ก็จะมีคำสั่งในการต๊าป โดยเฉพาะ เพราะ CNC มันสามารถควบคุม ความสัมพันธ์ของการหมุนดอกต๊าป และ อัตราการป้อน ได้ แต่เจ้า Sugino ก็มีผลิตภัณฑ์ สำหรับการต๊าป ซึ่ง ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่จะใช้หลักการทาง Mechanism เข้ามาช่วย ก็สามารถทำได้เช่นกันครับ
จาก Design ของหัวเจาะแบบอัตโนมัติ ตัวนี้แล้ว จะเห็นว่าได้ออกแบบให้มีขนาดกระทัดรัด สามารถนำไปติดตั้ง บนแท่นเจาะอีกที ซึ่งจะง่ายในการทำเครื่องเจาะอัตโนมัติ สามารถจับยึดชิ้นงาน และ เจาะได้ในหลาย ๆ รูพร้อมกันเพราะขนาดเล็ก สามารถติดตัวหัวในการเจาะ ได้หลาย ๆ หัวตามความต้องการ นอกจากนี้ Sugino ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบ ให้หัวเจาะ หัวเดียวสามารถ เจาะได้หลาย ๆ ดอก พร้อม ๆ กัน ทำให้การทำงาน เร็วขึ้น ประหยัด เวลาและพื้นที่ในการติดตั้งเครื่องจักร
ในส่วนของ Hydro Speed Regulator เป็น Accessories ที่เราสามารถซื้อแยกได้ ดังนั้น ท่านที่ต้องการลดต้นทุน ก็ยังสามารถซื้อมาติดกับ แท่นสว่านเจาะ เพื่อสร้างเครื่องเจาะ เองได้ โดยการ ดัดแปลงเครื่องเจาะ ให้เจาะลงมาด้วยแรงกระบอกลมแทน หลังจากนั้นก็ติดตั้ง เจ้าHydro Speed Regulator เข้าไป ท่านก็จะสามารถสร้าง หรือ ปรับปรุงกระบวนการเจาะ ของท่านเองได้ในต้นทุนที่ไม่สูงนัก โดยจากหลักการข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็จะทำให้เราเข้าใจถึงหลักการและวิธีการ เราก็จะสามารถ สร้างสรร ผลงานเป็นของเราเองได้แล้วครับ
ชื่อผลิตภัณฑ์ Selfeeder
ยี่ห้อ Sugino
คุณสมบัติ
- 1/3 HP spindle motor
- 1700-12,000 fixed rpm spindle speed range
- Typical drilling capacity in mild steel is 7/32 in. (5.5 mm)
- Typical drilling capacity in cast iron is 1/4 in. (6.5 mm)
- Typical drilling capacity in aluminum is 5/16 in. (9 mm)
- Standard stroke of 3.15 in. (80 mm)
- Standard JT1 type spindle for drill or collet chucks with integral collet and special spindles available as options
รูปสินค้า
Application
VDO
Website http://www.suginocorp.com
Download Catalog Sukino Selfeeder Drill
By www.108engineering.com
Engineering Knowledge Sharing
แผ่นสอน PLC Solidworks สอนการใช้งาน PLC Solidworks เป็น DVD Training
สร้างระบบ Automation ติดต่อ 080-2726622 เรียกเรา 108engineering เราจะดีใจมากครับ ^_^"